เพิ่มผลิตผลให้กับเกษตรกรไทย

แนะนำบริษัท

บริษัท ไทยเจริญทอง การทอ จำกัด

บริษัท ไทยเจริญทอง การทอ จำกัด ( TCT ) ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อผลิตตาข่ายและพลาสติกสำหรับใช้ในด้านการเกษตร และอุตสาหกรรมทั่วไป ด้วยเทคโนโลยีเครื่องจักรที่ทันสมัยจากยุโรป เช่น ตาข่ายพรางแสง (สแลน) , ตาข่ายกันแมลง , พลาสติกคลุมโรงเรือน , พลาสติกคลุมดินสองชั้น สีเงิน - ดำ , พลาสติกปูพื้น , พลาสติกปูบ่อ , พลาสติกปูพื้นเขื่อน , พลาสติกสำหรับฟาร์มสัตว์ และ อุปกรณ์ รวมถึงระบบการเกษตรจากต่างประเทศ และเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตร เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพ และเพิ่มผลิตผลให้กับเกษตรกรไทย

ด้วยประสบการณ์ในการผลิตพลาสติกที่ยาวนานกว่า 20 ปี และการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพระดับเกรดพรีเมี่ยม มาใช้ในกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองคุณภาพ ISO 9001:2015 ทำให้สินค้าของ บริษัท ไทยเจริญทอง การทอ จำกัด ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในด้านคุณภาพและอายุการใช้งานที่ยาวนาน จากกลุ่มผู้ใช้งานด้านเกษตรกรรม และกลุ่มผู้ใช้งานด้านอุตสาหกรรม

คลังความรู้และกิจกรรม

  • แคคตัส ต้องอยู่ในโรงเรือนจริงๆหรอ?
    แคคตัส ต้องอยู่ในโรงเรือนจริงๆหรอ?

    แคคตัส (CACTUS) หรือ ที่ใครๆเรียกกันว่า กระบองเพชรมีถิ่นกำเนิดในทะเลทรายที่มีอากาศร้อน แคคตัส มีหลากหลายพันธุ์มากกว่า 3,000 ชนิด ไม่รวมสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ ยังไม่มีบันทึกที่ชัดเจนว่า แคคตัส มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งแต่เมื่อไร แต่มีการค้นพบบันทึกหลักฐานที่เกี่ยวกับแคคตัส ซึ่งถูกบันทึกในปี ค.ศ. 1325 โดยชนชาว Aztecs ในประเทศเม็กซิโก ใช้ต้นแคคตัสเป็นสัญลักษณ์แห่งการรวมเผ่าพันธุ์ แคคตัส มีการค้นพบครั้งแรกโดย คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ในช่วงปลาย ค.ศ. ที่ 15 ในขณะที่โคลัมบัส ได้เดินทางไปยังหมู่เกาะ West indies และได้พบแคคตัสในสกุล Opuntiaและ Melocactusเป็นครั้งแรก โดยในระหว่างเดินทางกลับ โคลัมบัสก็ได้นำแคคตัสกลับมายังยุโรปด้วย จึงทำให้ แคคตัส เริ่มมีการเผยแพร่ และถูกค้นพบพันธุ์ใหม่ๆอีกมากมาย เราก็ได้รู้จักกับเจ้า แคคตัส กันไปพอสมควรแล้ว ทีนี้เรามาเข้าเรื่องของเราดีกว่า เนื่องจากเจ้าแคคตัส มีถิ่นกำเนิดในทะเลทรายที่มีอากาศร้อน จึงสามารถนำมาเลี้ยงในเมืองไทยได้อย่างสบาย แถมยังเลี้ยงได้สวยงามกว่าหลายๆที่ในโลกอีกด้วย เพราะในเมืองไทยไม่มีหิมะ และอากาศที่หนาวจัด แคคตัสจึงไม่ต้องพักตัว แต่อาจจะเลี้ยงแคคตัสที่ชอบอากาสเย็นได้ไม่ดีนัก เพราะในทะเลทรายถึงแม้จะมีอากาศร้อนในช่วงกลางวัน แต่ในตอนกลางคืนนั้นกลับมีอากาศที่หนาวเย็นมากนัก เคยมีผู้เชี่ยวชาญกล่าวไว้ว่า “สถานที่ใดที่มีอุณหภูมิในช่วงกลางวันแตกต่างจากช่วงกลางคืนถึง 10 องศา สถานที่นั้นเลี้ยงไม้ได้งามนัก” ปัจจัยหลักในการเลี้ยงแคคตัส คือ แสงแดด อุณหภูมิ เครื่องปลูก น้ำ ปุ๋ย และที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้ นั้นก็คือ โรงเรือน แสงแดดแคคตัส อาศัยแสงแดดในการปรุงอาหารเลี้ยงลำต้นเพื่อความเจริยเติบดตและการอยู่รอด เช่นเดียวกับต้นไม้ชนิดอื่นๆ แคคตัส มีถิ่นกำเนิดในภูมิประเทศที่ร้อน และ แห้งแล้ง เพื่อเลียนแบบธรรมชาติ จึงควรจำได้รับแสงแดดให้นานตลอดวัน เพื่อทำให้แคคตัสแข็งแรงเติบโต ได้รูปทรงที่ถูกต้องตามลักษณะสายพันธุ์ อุณหภูมิ แคคตัส ชอบอากาศร้อน และแห้งแล้ง ดังนั้นในเมืองไทยซึ่งมีอากาศที่ร้อนมากๆ จึงทำให้สามารถเลี้ยงแคคตัสให้เติบโตได้ดีตลอดทั้งปี เครื่องปลูกนั้นก็หมายถึง ดิน ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของเจ้าแคคตัสนั้นเอง โดยส่วนประกอบที่สำคัญที่เราจะผสมลงไปนั้น ได้แก่ เนื้อดินวัสดุที่ช่วยเพิ่มความโปร่งให้ดิน เช่น เพอร์ไลท์ เวอร์มิคูไลท์ เป็นต้น และ สารเคมีต่างๆ เช่น ปุ๋ยละลายน้ำช้า ยาฆ่าแมลงแบบเกร็ด และ ฯลฯ ส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนนี้ ควรจะเลือกชนิดที่จะนำมาผสม ให้เข้ากับสภาพพื้นที่ และ ความสะดวกในการซื้อหา ข้อสำคัญหลังจากที่ผสมดินเสร็จแล้ว ควรรดน้ำให้ชุ่ม แล้วตากแดดทิ้งไว้จากนั้นประมาณ 1-2 สัปดาห์ เราก็จะได้ดินที่สะอาดและปราศจากความร้อนที่เกิดจากการย่อยสลายตัวของอินทรีย์สารในดิน น้ำ เวลาในการรดน้ำ ควรจะรดในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น คือห้ามรดในช่วงที่กระถางหรือเครื่องปลูกร้อนมาก เพราะจะทำให้แคคตัสของเราตายได้ ระยะเวลาในการรดน้ำ ให้เราเช็คหลังจากที่รดน้ำไปวันแรก ว่าอีกกี่วันถัดมาดินถึงจะแห้ง เมื่อดินแห้งแล้วให้เว้นไปอีก 1 วัน แล้วค่อยรดในวันถัดมา คือเราต้องปล่อยให้ดินมีวันที่แห้งบ้าง ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยเราสามารถใช้ปุ๋ยกล้ยวไม้ให้แก่แคคตัสได้ แต่ควรใช้ในปริมาณที่ต่ำกว่าฉลากข้างขวดระบุไว้ ไม่ควรใจร้อนให้ปุ๋ยในปริมาณมาก เพราะอาจทำให้ต้นแคคตัสระเบิดได้ โรงเรือน โดยธรรมชาติของแคคตัส สามารถอยู่ได้ในที่กลางแจ้งและมีแสงแดดจัดเต็มที่ แต่ลักษณะของแคคตัสที่อยู่กลางแจ้งนั้น จะมีผิวที่กร้านแดด ไม่สวยงามสดใส ถ้าเทียบกับที่เลี้ยงโดยมีการพรางแสงบ้างเล็กน้อย เว้นแต่ชนิดที่มีขน หรือ หนามปกคลุมจนมิดเนื้อลำต้น ดังนั้น ประโยชน์ของการสร้างโรงเรือนแคคตัสก็เพื่อปกป้องแคคตัสจากสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เช่น แสงแดด และฝน ที่มากเกินความต้องการ โรงเรือนที่เหมาะกับการปลูกแคคตัส จะต้องเลี้ยงแคคตัสได้อย่างสุขสบาย มีลักษณะตามสายพันธุ์ที่ถูกต้อง มีสีสวยงามทุกฤดู ไม่กลัวแดดในฤดูร้อน และ ไม่เน่าตายในฤดูฝน สามมารถป้องกันแมลงและสัตว์ต่างๆ ที่เป็นอันตรายได้ รูปแบบโรงเรือนส่วนใหญ่ที่ใช้เลี้ยงแคคตัสในเมืองไทย มักจะใช้พลาสติกใสคลุมโรงเรือน ที่ผสม UV มุงหลังคา ในระยะแรกอาจจะยังใสมาก จึงควรใช้แสลนคลุมพรางแสง 50 % เมื่อพลาสติกเริ่มขุ่น แคคตัสเริ่มปรับสภาพได้ จึงนำแสลนออก ซึ่งจะเหมาะกับโรงเรือนขนาดเล็ก ลงทุนน้อย และอีกรูปแบบซึ่งดูถาวรกว่า แต่ต้องลงทุนมากขึ้น คือโรงเรือนที่มุงด้วยหลังคากระเบื้องใส ชนิดที่เป็นใยแก้ว แต่ก็จะมีอายุการใช้งาน ประมาณ 3-5 ปี เพราะกระเบื้องจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และขุ่น ทำให้ได้รับแสงแดดไม่เต็มที่ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ แต่กระเบื้องใสก็มีหลายชนิด เช่น โพลีคาร์โบเนต อะคิริค ซึ่งมีอายุการใช้งาน และราคาต่างกันออกไป โดยโรงเรือนที่จะแนะนำวันนี้ เป็นโรงเรือนสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเลี้ยง หรือผู้ที่มีเงินลงทุนไม่มาก ซึ่งโครงสร้างโรงเรือนก็ทำด้วยไม้และวัตถุที่พาหาได้ในท้องถิ่น มุงด้วยพลาสติกคลุมโรงเรือนชนิดใส ที่ผสมสาร UV ของบริษัท TCT ส่วนด้านข้างใช้มุ้งขาวกันแมลงของ TCT ซึ่งจะผสม UV และผลิตจากพลาสเกรดเยี่ยม ทำให้มีอายุการใช้งานที่นาน อากาศถ่ายเทได้ดี และยังสามารถกันแมลงได้อีกด้วย ส่วนการพรางแสง ใช้แสลนสีเงิน 50 % ของ TCT หรือจะใช้แสลนที่ผสมอลูเนียม 50 % ที่ป้องกันแสงแดด ลดความร้อน และควบคุมอุณหภูมิได้ดี อีกทั้งยังสามารถคายความร้อน เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในโรงเรือนทำให้พืชมีอัตราการเจริญเติบโตสูง ของทาง TCT เขาก็มีให้เลือกใช้เช่นกัน แคคตัส ต้องอยู่ในโรงเรือนจริงๆหรอ? จึงต้องตอบว่า จำเป็นมากๆสำหรับคนที่เลี้ยงแคคตัส อย่างจริงจัง ผู้ปลูกจำนวนไม่น้อย ที่เสียดายเงินสร้างโรงเรือน แต่ไม่เสียดายเงินที่จะซื้อต้นไม้ราคาสูงๆ ซึ่งในที่สุดแล้ว เมื่อสถานที่เลี้ยงไม่ดี เราก็ไม่สามารถที่จะดูแลรักษาแคคตัสไว้ได้ ความเสียหายมันมากกว่าเงินที่จะนำมาสร้างโรงเรือนเสียอีก

    รายละเอียดเพิ่มเติม
  • การเกษตรยุคใหม่ ต้องอาศัย คลุมดิน
    การเกษตรยุคใหม่ ต้องอาศัย คลุมดิน

    การคลุมดินในประเทศไทย มีการปฎิบัติกันอย่างแพร่หลายในบริเวณที่ปลูกผักโดยใช้ฟางข้าว แต่มีสวนผักและสวนผลไม้บางแห่งใช้ใบไผ่แห้งเป็นวัตถุคลุมดิน การคลุมดินเป็นวิธีที่ถูกที่สุดในการสงวนน้ำในดิน นอกจากนี้การคลุมดินยังเป็นการป้องกันวัชพืชและเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินโดยตรงที่สุด แต่ในประเทศไทย ยังมีการคลุมดินน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ปลูกพืชไร่ ทำไมเราต้องคลุมดิน? ประการแรกเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินที่เกิดจากเม็ดฝนที่ตกลงมา หรือที่เกิดจากน้ำไหลบากบนผิวดิน หรือที่เกิดจากลม ทั้งนี้ยังเป็นการอนุรักษ์น้ำในดิน เพิ่มอุณหภูมิไม่ให้ลดลงต่ำมากจนเป็นอันตรายต่อรากพืช ลดการเจริญเติบโตของวัชพืช และเป็นการรักษาโครงสร้างของดินด้วย ก่อนการคลุมดินนเราต้องเตรียมตัวอย่างไร? อย่างแรกเราต้องดูชนิดของพืชที่ต้องการคลุมดิน ว่าเหมาะสมต่อการที่จะคลุมดินหรือไม่ วัตถุคลุมดินหาได้ที่ไหน? การคลุมดินจะเป็นอุปสรรคต่อการพรวนดินหรือไม่? จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของวัชพืชหรือไม่? จะมีผลต่อผลผลิตหรือไม่? และสุดท้ายคือเราจะใส่ปุ๋ยอย่างไร? และใช้อุปกรณ์เครื่องทุ่นแรงชนิดใด? เมื่อเราตอบโจทย์ความพร้อมก่อนการคลุมดินได้แล้ว เราก็มาเริ่มการคลุมดินกันเลยดีกว่าครับ วัตถุคลุมดิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ 1.อินทรียวัตถุต่างๆ ได้แก่ เศษเหลือของพืช เช่น ตอซัง หญ้าแห้ง และปุ๋ยหมัก PEAT เช่น ซากอินทรียวัตถุที่สะสมอยู่ในลุ่มน้ำต่างๆ เศษเหลือของไม้ต่างๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย เศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น กากอ้อย ปุ๋ยคอกชนิดต่างๆ 2.วัตถุคลุมดินที่ได้จากการสังเคราะห์ ได้แก่ พลาสติก เช่น พลาสติกคลุมดินเงินดำของบริษัท TCT ซึ่งมีความเหนียว ทนทาน มีอายุการใช้งานยาวนาน เนื่องจากผลิตด้วยเม็ดพลาสติกเกรด AA คุณภาพเยี่ยมไม่ผสมพลาสติกรีไซเคิล, กระดาษ, กระดาษฉาบพลาสติก, กระดาษฉาบขี้ผึ้ง, แผ่นอลูมิเนียม และแผ่นเหล็ก โดยวันนี้เราจะมาแนะนำการคลุมดินโดยใช้พลาสติกคลุมดินเงินดำของ TCT พลาสติกคลุมดิน นั้นสามารถใช้งานได้ดีมีประโยชน์ในทุกช่วงฤดูกาล โดยในฤดูร้อนและฤดูหนาว จะช่วยเก็บรักษาและควบคุมอุณหภูมิภายในดิน ส่วนในฤดูฝน ก็สามมารถช่วยควบคุมเหล่าวัชพืชได้ เป็นที่นิยมใช้กันมากตามโรงเรือนเพาะชำ และแปลงเพาะปลูก อายุการใช้งานของพลาสติกคลุมดิน จะขึ้นอยู่กับเกรดและคุณภาพเม็ดพลาสติก ซึ่งพลาสติกคลุมดินของทาง TCT ผลิตจากวัตถุดิบชั้นยอด และผสมสารป้องกัน UV จึงทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน โดยการคลุมดิน จะต้องปูเอาด้านสีเงินขึ้น เพื่อสะท้อนแสงแดด และรังสี UV ตัวอย่างพืชที่เหมาะกับพลาสติกคลุมดิน ประเภทพืชผัก ได้แก่ แตงกวา ถั่วฝักยาว พริก มะเขือเทศ มะนาว มะกรูด ผักกาด ประเภทผลไม้ ได้แก่ แตงโม แตงไทย สตรอว์เบอร์รี ประเภทไม้ดอก ได้แก่ ดาวเรือง เบญจมาศ และประเภทพืชพลังงาน ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ทั้งนี้ เราจึงเห็นได้ว่า การเกษตรในยุคปัจจุบันนี้ จึงขาดการใช้พลาสติกคลุมดินไปเสียไม่ได้เลย

    รายละเอียดเพิ่มเติม
  • แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพุทรา
    แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพุทรา

    1. แมลงวันทอง หรือแมลงวันผลไม้ แมลงวันทองเป็นศัตรูที่สำคัญของพืชผักผลไม้ และเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง แมลงวันทองก็สามารถเข้าทำลายทุกส่วนของพืชได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนใบ ดอก ผล ลำต้น หรือราก เราสามารถป้องกันการเข้าทำลาย โดยใช้มุ้งขาวกันแมลง ขนาด 16, 20, 32, 40 ตา 2. หนอนแดงพุทรา หนอนแดงเป็นแมลงศัตรูพืชพุทราที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตพุทราได้เป็นจำนวนมาก ระบาดมากในช่วงเดือน มีนาคม-มิถุนายน หนอนเข้าทำลายพืชในระยะออกผล เราสามารถป้องกันการเข้าทำลาย โดยใช้มุ้งขาวกันแมลง ขนาด 16, 20, 32, 40 ตา 3. หนอนคืบ หนอนคืบจะทำลายโดยการกัดกินใบเป็นส่วนใหญ่ และทำลายอย่างรวดเร็ว พบตามแหล่งปลูกทั่วๆไปในประเทศไทย เราสามารถป้องกันการเข้าทำลาย โดยใช้มุ้งขาวกันแมลง ขนาด 16, 20, 32, 40 ตา 4. มวนแก้ว ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบพืช ทำให้ใบพืชที่ถูกทำลาย จะเกิดจุดสีขาวขนาดเล็ก ปรากฏให้เห็นชัดทาง ด้านหลังใบ ต่อมาใบเหี่ยวและตาย เราสามารถป้องกันการเข้าทำลาย โดยใช้มุ้งขาวกันแมลง ขนาด 16, 20, 32, 40 ตา 5. เพลี้ยแป้ง ทำลายของเพลี้ยแป้ง คือ การดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนยอด ใบ ตา และลำต้น โดยเพลี้ยแป้งจะขับถ่ายมูลที่มีลักษณะของ เหลวข้นเหนียวมีรสหวาน ทำให้เกิดราดำปกคลุมปิดบังบางส่วนของใบพืช มีผลทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชลดลง เราสามารถป้องกันการเข้าทำลาย โดยใช้มุ้งขาวกันแมลง ขนาด 32, 40 ตา 6. เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ และพบได้ทั่วโลก มีการระบาดอย่างรวดเร็ว สามารถเข้าทำลาย โดยดูดกิน น้ำเลี้ยงพืช พบเข้าทำลายพืชแทบทุกชนิด เช่น ตระกูลแตง, มะเขือ, ถั่ว พริก, มะเขือเทศและอื่นๆ รวมถึงผลไม้ และดอกไม้ เพลี้ยอ่อนยังเป็นพาหะนำโรคไวรัสมาสู่พืชที่เข้าทำลายได้อีกด้วย เราสามารถป้องกันการเข้าทำลาย โดยใช้มุ้งขาวกันแมลง ขนาด 32, 40 ตา 7. แมลงค่อมทอง ตัวหนอนของแมลงค่อมทองกัดกินรากของพืชหลายชนิดเป็นอาหาร ตัวเต็มวัยกัดกินตั้งแต่เนื้อเยื่อเจริญ จนถึงใบแก่ของ ต้นไม้ แมลงค่อมทองตัวเต็มวัยชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เข้าทำลายพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เราสามารถป้องกันการเข้าทำลาย โดยใช้มุ้งขาวกันแมลง ขนาด 16, 20, 32, 40 ตา

    รายละเอียดเพิ่มเติม
ดูทั้งหมด

เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอคอนเทนต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์ของเราต่อไปโดยไม่ได้ปรับการตั้งค่าใดๆ เราเข้าใจว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้

ยอมรับ